อารมณ์และความเครียดส่งผลต่อสุขภาพ

อารมณ์และความเครียด สามารถเกิดได้ทุกที่ทุกเวลาอาจจะเกิดจาก ความเครียดสาเหตุภายนอก เช่นการย้ายบ้าน การเปลี่ยนงาน ความเจ็บป่วย การหย่าร้าง ภาวะว่างงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อน ครอบครัว หรืออาจจะเกิดจาก ความเครียดภายใน ผู้ป่วยเอง เช่นความต้องการเรียนดี ความต้องการเป็นหนึ่ง หรือความเจ็บป่วย ความเครียดเป็นระบบเตือนภัย ของร่างกายให้เตรียมพร้อม ที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไป ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ ความเครียดก็มีส่วนดี เช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้ว ความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ชีวิตซึ่งมี่ทั้งผลดีและผลเสีย

Stress affect health ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพ

ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพ

ความเครียดเล็กน้อยเป็นสิ่งที่ดีเพื่อกระตุ้นให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมุ่งมั่นที่จะประสบผลสำเร็จในการงาน และการกีฬา แต่ความเครียดระดับต่ำ มีรับอย่างสม่ำเสมอ และหาทางแก้ไขไม่ได้มักจะก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา ความเครียดเหล่านั้นได้แก่

  1. ความเครียดที่เกิดจากงาน หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ที่ยากจะแก้ไข
  2. ความเครียดที่เกิดจากการสูญเสีย เช่นอุบัติเหตุรถยนต์
  3. ไม่สามารถผ่อนคลายความเครียด
  4. ภาวะเครียดที่เกิดจากโรค เช่น อัมพาต โรคหัวใจ
ผลกระทบต่อด้านจิตใจ

พบว่าผู้ที่มีความเครียดเรื้อรังและไม่สามารถผ่อนคลายจะมีปัญหาเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลได้สูงกว่าคนทั่วไป ทำให้คุณภาพชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมทั้งหน้าที่การงานแย่ลง

ผลกระทบต่อหัวใจ

ความเครียดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกในผู้ป่วยโรคหัวใจโดยทำให้หัวใจทำงานหนัก หัวใจบีบตัวมากขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น อาจจะเกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจ เลือดมีความหนืดเพิ่มเนื่องจากมีไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นและเกิดอุดตันหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น ในผู้หญิงจะทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ฮอร์โมนนี้จะป้องกันโรคหัวใจ ความเครียดทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

โรคหลอดเลือดสมอง

พบว่าผู้ชายที่มีความเครียดสูงจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเกิดโรคหลอดเลือดสมองบ่อยกว่าคนที่ไม่เครียด

การติดเชื้อ

คนที่เครียดเรื้อรังจะมีภูมิตอบสนองต่อการติดเชื้อและจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าคนทั่วไป จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่นหวัด เริม เป็นต้น

ระบบทางเดินอาหาร

พบว่าความเครียดเรื้อรังสามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรคกระเพาะอาหาร เป็นที่ทราบกันดีว่าสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะคือการรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID และจากเชื้อ H.pyroli แต่ความเครียดเรื้อรังก็เป็นส่วนส่งเสริมทำให้เกิดโรคดังกล่าว และท้องร่วงจากโรค Irritable Bowel Syndrome ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมวนท้อง ถ่ายเหลวเป็นๆหายโดยมีท้องผูกสลับกับถ่ายเหลว

การรับประทานอาหาร

คนที่มีความเครียดเรื้อรังจะมีปัญหาการรับประทานอาหารได้ 3 รูปแบบ คือ น้ำหนักเกิน เนื่องจากเมื่อเกิดความเครียดผู้ป่วยจะรับประทานอาหารเค็ม มัน หวานเพื่อไปต่อสู้กับความเครียด และทำให้เกิดลักษณะอ้วนลงพุง น้ำหนักลดลง เนื่องจากเบื่ออาหาร การรับประทานอาหารผิดปกติ เช่น Anorexia nervosa and bulimia nervosa

โรคเบาหวาน

ความเครียดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เกิดการดื้อต่ออินซูลิน

อาการปวด

ผู้ที่เครียดเรื้อรังอาจจะมีอาการ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ

ระบบสืบพันธ์

ความต้องการทางเพศจะลดลงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ผู้ชายอาจจะมีปัญหาเรื่องการแข็งตัวขององคชาติ ส่วนผู้หญิงจะมีปัญหาเรื่องการถึงจุดสุดยอด การเป็นหมัน การปวดประจำเดือน และการแท้งก็พบได้บ่อย

ความจำและการเรียนรู้

ความสามารถในการเรียนรู้และความจำจะลดลง สมาธิจะไม่ดี เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย

ขอบคุณแหล่งข้อมูล :siamhealth.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น