โอ๊ย ปวดเข่า ตอนที่ 1

อาการปวดเข่า (Knee pain) ไม่ว่าจะปวดมากปวดน้อย ปวดๆหายๆหรือปวดด้านหน้า ปวดด้านหลัง รู้สึกปวดเข่าไปหมดต่างก็ล่วนเป็นสัญญาณเตือนภัยสุขภาพ เป็นอาการที่น่าเป็นห่วง เพราะหัวเ่ข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย และก็พบว่ามีการบาดเจ็บมากที่สุดเช่นกันนะครับ และเพื่อนๆเคยสังเกตไหมว่ามันมักจะเกิดจากการเล่นกีฬาหรือจากอุบัติเหตุ แต่สำหรับบางคนก็อาจจะปวดเข่าขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ เรามาช่วยกันวิเคราะห์สาเหตุกันครับว่าเกิดจากเพราะอะไร...

อาการปวดเข่า (Knee pain)
แต่ละตำแหน่งที่มีอาการปวดจะบ่งบอกได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจากส่วนไหนของร่างกาย และก็มีสามตำแหน่งด้วยกันที่มักจะมีอาการแบบนี้คือ..อาการแรกคืออาการปวดที่บริเวณด้านหน้าของหัวเข่าอาจเกิดจากการอักเสบของข้อกระดูกอ่อนที่สะบ้า ซึ่งเมื่อวานเราก็ได้กล่าวอาการอักเสบที่ใต้ฝ่าเท้ากันไปแล้ว

อาการที่สองปวดด้านข้างของเข่า ซึ่งอาจจะเกิดจากการบาดเจ็บของเส้นเอ็นด้านข้าง ข้ออักเสบ หรือมีการฉีกขาดของกระดูกอ่อน และอาการสุดท้ายคือปวดทางด้านหลังของเข่า อาจเกิดจากข้ออักเสบ หรือมีถุงน้ำที่เรียกว่า Baker is Cyst ซึ่งจะเกิดเป็นก้อนปูดออกมาที่ด้านหลังของเข่า

สรุป ดังนั้นสาเหตุของการปวดเข่าก็น่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น มีการอักเสบของข้อเข่า เส้นเอ็นฉีก ข้อเข่าเสื่อม มีการติดเชื้อ ซึ่งการปวดข้อเข่าส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการใช้งานหนักจนเกินไป หรือใช้งานผิดวิธีผิดประเภท และที่สำคัญก่อนออกกำลังกายไม่มีการ Warm Up กันก่อนใช่ไหมละครับ ทำให้กล้ามเนื้อยังไม่ยืดเพียงพอต่อการเคลื่อนไหว สำหรับกรณีบาดเจ็บ ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยก็อาจจะหายได้ แต่ถ้าบาดเจ็บรุนแรงก็อาจถึงขึ้นผ่าตัดเลยเช่นกัน

ถัดจากนี้ไปผมจะไล่ให้ดูกันนะครับว่า อะไรบ้างที่เป็นสาเหตุ หรือปัจจัยอื่นที่เรายังคาดคิดไม่ถึง ที่ทำให้เกิดอาการปวดเข่า บทความต่อไปผมจะมาเล่าถึงสาเหตุกว้างๆ และ สัญญาณเตือน มาให้เพื่อนได้อ่านกันนะครับ สำหรับวันนี้ผมก็ขอตัวเข้านอนก่อน โอ๊ยๆ ปวดเข่า ยังไม่หายเลย...ติดตามชม โอ๊ย ปวดเข่า ตอนที่ 2 กันนะครับ!


ขอบคุณแหล่งข้อมูล : http://www.doctor.or.th

เผย 2 วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก


ข่าวสุขภาพเมื่อวานนี้ วันที่ 30 สิงหาคมที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงเรื่องมาตรการป้องกันการระบาดของโรคมือเท้าปากหลังรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี( ครม.) เป็นวาระเพื่อทราบว่า แม้ถึงเวลานี้จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวในปี 2554 เพียง 4 คน แต่ถ้าเทียบกับปี 2553 ที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลยก็ถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะมีผู้ติดเชื้อโรคดังกล่าว ที่มีพาหะเป็นไวรัสและระบาดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีถึงกว่า 8,000 คน และมีความเป็นไปได้ว่าตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป อาจมีการระบาดของโรคนี้อีกครั้ง
และมีแนวทางป้องกันโรคมือเท้าปากดังนี้
วิธีป้องกันโรคมือเท้าปาก

1.ถ้าพบเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ มีไข้สูง และเป็นแผลในปาก มือ และเท้า ให้หยุดเรียนไปพบแพทย์ทันที

2.หลังจากให้เด็กที่มีแนวโน้มเป็นโรคหยุดเรียน ก็ให้ทำความสะอาดศูนย์อนุบาลหรือเนิร์สเซอรี่


โดยมีวิธีป้องกัน 2 วิธีนี้ เพราะโรคนี้ติดตามทางปาก ทั้งอุจจาระ เสมหะ หรือน้ำลาย จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดสถานบริการเด็กด้วยห่วงเด็กไทยรักเด็กไทยใส่ใจสุขภาพร่วมกันนะครับ

ขอบคุณแหล่งข่าว : www.thaihealth.or.th

เจ็บใต้ฝ่าเท้าเวลาเดิน ( Plantar fasciitis )

อาการเจ็บใต้ฝ่าเท้าเวลาเดิน เวลายืน เพื่อนๆเคยบ่นกันบ้างไหม ว่าทำไมเวลาเราเดินไปไหนมาไหนรู้สึกเจ็บใต้ฝ่าเท้าขึ้นมา แล้วมันกำลังเตือนอะไรบ้างอย่างกับเรา เท้าเรานั้นถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายคนเราทำให้เราเดินไปไหนมาไหนได้สะดวกทำกิจวัตรประจำวันประกอบอาชีพต่างๆ ล้วนแต่ใช้เท้าใช้แขน เป็นแรงสำคัญ แต่เท้าเป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักตัวเวลาที่เรากำลังยืนหรือเดิน ถ้าเกิดอาการเจ็บที่ใต้ฝ่าเท้าแล้วละก้อ อย่าทำเป็นเพิกเฉยเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น เจ็บแค่นี้คงไม่ตายเท้าอยู่ห่างหัวใจเยอะ เริ่มคิดใหม่ได้แล้วนะครับ เพราะสาเหตุของการเจ็บที่ใต้ฝ่าเท้าหรือบริเวณส้นเท้า มันบ่งบอกว่าเท้ากำลังอักเสบหรือการระคายเคืองของพังผืดที่คอยพยุงโค้งใต้ฝ่าเท้าของเราไว้ ซึ่งเรียกว่า Plantar fasciitis

เจ็บใต้ฝ่าเท้าเวลาเดิน เวลายืน
Plantar fasciitis สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดส้นเท้าจะอักเสบและฉีกขาดของเอ็นที่ด้านล่างของเท้า เป็นอาการความเจ็บปวดที่ก่อให้เกิดที่ด้านในของส้นเท้า พังผืดที่อยู่ใต้เท้าจะทำหน้าที่คอยรับแรงกระแทกเวลาที่เราเดิน ด้วยที่แรงกดดันที่มากจนเกินไป อาจทำให้มีการทำลาย หรือมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อเยื่อ ซึ่งร่างกายเราจะตอบสนองต่ออาการบาดเจ็บนี้โดยการเกิดอาการบาดเจ็บขึ้นทำให้รู้สึกเจ็บ และคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้ว่าต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บนั้นมาจากไหน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็จะขอบอกปัจจัยเสี่ยงที่พึงระวังให้รู้กันนะครับเพื่อนๆ
  • กล้ามเนื้อขาดความยืดหยุ่น
  • ความอ้วน
  • โค้งฝ่าเท้าใหญ่ผิดปกติ
  • เดิน วิ่งมากเกินไป
  • กิจวัตรประจำวันที่เพิ่มมากขึ้น ที่ไม่เคยทำมาก่อน
คนที่มีอาการเช่นนี้จะกระดูกงอกที่ส้นเท้า ซึ่งเกิดจากการอักเสบของพังผืด แต่ตัวกระดูกที่งอกนี้ไม่ได้ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บแต่อย่างใด ซึงก็พบว่าประมาณหนึ่งในสิบของผู้คนทั่วไป จะมีกระดูกงอกเช่นนี้ แต่จะมีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นของคนที่กระดูกงอกแล้วมีอาการเจ็บใต้ฝ่าเท้า ดังนั้นการมีกระดูกงอกที่ใต้ฝ่าเท้าก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติอย่างหนึ่งที่ไม่ต้องพบหมอใ้ห้มาทำการฝ่าตัดออก+555

แต่อาการที่เราสนใจคืออาการที่บ่งบอกว่ามีการอักเสบแล้วก็รู้สึกเจ็บที่บริเวณใต้ส้นเท้า จะมีอาการปวดมากเวลาที่เราเิดิน 2-3 ก้าวแรกหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังจากนั่งรถไปไหนมาไหนนานๆ แต่อาการจะดีขึ้นหลังจากนั้นไม่กี่นาที และอาการจะปวดมากขึ้นหลังออกกำลังกาย ซึ่ง ขณะออกกำลังกายจะยังไม่เจ็บ

การดูแลรักษา โดยการรักษาแบบง่ายๆ ที่สามารถแนะนำกันได้คือการ พักการใช้งานของเท้า ด้วยการลดกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำให้เจ็บเท้า ใช้น้ำแข็งประคบหรือจะแช่น้ำเย็นเลยก็ได้ ประมาณ 20 นาทีซึ่งวิธีนี้จะ 4 ครั้งต่อวัน มีการบริหารเกล้ามเนื้อให้เกิดความยืดหยุ่น การกินยาลดการอักเสบ จะช่วยลดอาการเจ็บและอาการอักเสบได้เป็นอย่างดี แต่ต้องต้องทานยาติดต่อกันอย่างน้อย 14 วัน โดยภายใต้การดูแลของหมอ หรือปรึกษา เภสัชกร นะครับ

การใช้อุปกรณ์ช่วย มีการใส่รองเท้าที่มีส้นหนานุ่มขึ้น และมีแผ่นลดแรงกระแทก จะช่วยลดอาการเจ็บเวลายืนหรือเดินได้ เพราะการยืนที่รองเท้าแข็งๆ จะทำให้เกิดอาการฉีกขาดแบบเล็กๆ ที่พังผืดได้ หรือการใช้ซิลิโคนนุ่มๆ ก็ช่วยคุณได้นะครับ แต่สำหรับบ้างคนอาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมที่ต้องสั่งตัดเป็นพิเศษเพื่อเป็นการรักษา นอกจากนี้การใส่อุปกรณ์ยึดข้อเท้าในตอนกลางคืนก็เป็นตัวช่วยหนึ่งสำหรับคนที่มีปัญหาจริงๆ ก็คือขณะเรานอนหลับ ปลายเท้าจะชี้ลง เคยสังเกตไหมครับ ซึ้งลักษณะแบบนี้จะทำให้เกิดอาการเจ็บเท้าขึ้นมาในตอนเช้าๆ จึงจำเป็นต้องใส่อุปกรณ์ดังที่กล่าวครับ
และลองดูวิธีการรักษาแบบฝรั่งกันดูนะครับ พอดีไปเจอวีดีโอที่เกี่ยวข้องกับอาการที่เรียกว่า Plantar fasciitis มาให้ดูกัน
ขอบคุณแหล่งข้อมูล : youtube.com
ขอบคุณแหล่งภาพ : howtogetridofstuff.com