สำคัญไฉน น้ำที่ใช้กินยา !!

สำคัญไฉน น้ำที่ใช้กินยา
เป็นอีกหนึ่งบทความนะครับเกี่ยวกับเรื่องยาๆบ้าง ไม่มีใครประทับใจกินยาแล้วทำไมไม่หายจากโรคจากอาการสักทีล่ะ! เพราะแค่ไปหาหมอก็จะแย่อยู่แล้ว ไหนจะค่าใช้จ่าย การเดินทาง นั่งรอเข้าตรวจโรคอีก หิวก็หิว กว่าจะได้ยาจากห้องจ่ายยา จนได้รับยาก็ล้า...อยากกลับบ้าน เต็มทีแล้ว

ก่อนอื่นเดี๋ยวเล่าให้ฟังก่อน รพ.แห่งหนึ่ง มีคนไข้มาถามคุณหมอที่ห้องยาว่า "ยาที่รับไปแล้ว สามารถรับประทานพร้อมกับน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา (น้ำที่อุณหภูมิห้องปกติ) หรือน้ำเย็นได้หรือเปล่า คนไข้ถาม" แล้วคุณหมอคนนั้น ก็ขอดูยาคนไข้ที่ได้รับไป ไม่นานก็สังเกตเห็นคุณหมอเปิดหนังสืออะไรไม่รู้เล่มใหญ่ๆ สักพักก็บอกคนไข้คนนั้นว่า "สามารถกินกับน้ำอุ่นได้ แต่ไม่ถึงกับร้อน ถ้าให้ดีน้ำธรรมดาที่ต้มสุขแล้ว" คนไข้ก็ขอบคุณแล้วก็จากไป ผมเกิดความสงสัยก็เลยไปหาข้อมูลจากเวป เกี่ยวกับน้ำที่ใช้กินยา และผมก็เจอบทความ บทความหนึ่ง ที่เวปไซต์ สสส. และวิชาการดอทคอม ได้ไปอ่านบทความ สำคัญไฉนน้ำที่ใช้กินยา เกี่ยวกับข้อสงสัยที่ว่า การกินยากับน้ำอุ่นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างที่หลายๆ คนกำลังกังวล หรือไม่ ตรงเลยทีนี้ อ่านซิถ้างั้น

จากบทความกล่าวไว้ว่า ข้อสงสัยดังกล่าว ว่า ปัจจุบันยังไม่มีรายงาน หรือผลการวิจัยใดๆ บ่งบอกว่า การกินยากับน้ำอุ่นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างที่หลายๆ คนกำลังกังวล แต่โดยหลักแล้ว ยอมรับว่า การกินน้ำอุ่นกับยา อาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเล็กน้อย แต่เชื่อว่าไม่น่าจะอันตรายอะไร ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ในร่างกายคนเรามีอุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส แล้วการดื่มน้ำอุ่นที่ร่างกายรับได้ก็ไม่น่าจะอุ่นมากจนร้อน อาจจะมีบ้างที่ทำให้ยาแตกตัวเร็วขึ้น ละลายง่ายขึ้น ทำให้ดูดซึมเร็วขึ้น อาจจะส่งผลบ้าง แต่ไม่อันตราย
แต่มันก็มียาบางชนิดเหมือนกัน ที่มีปฏิกิริยากับน้ำอุ่นจัดๆ เช่น ยากลุ่มแอสไพริน ที่ถ้าเจอน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นจัดๆ จะเกิดกรดน้ำส้ม และทำให้เสียฤทธิ์ไปได้ ทางที่ดีที่สุด คือ หากต้องกินยา ควรกินยากับน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่เย็น หรือไม่อุ่น แม้จะไม่มีงานวิจัยว่าน้ำเย็นหรืออุ่นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อกินกับยา น้ำอุณหภูมิห้องที่ตั้งไว้นอกตู้เย็น น่าจะไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับเม็ดยามากที่สุด

นอกจากนี้ ผศ.ดร.ภญ.นิยดา ยังฝากเตือนไปยังผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ กินยากับน้ำชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกินยากับนมและน้ำผลไม้ ซึ่งเป็น 2 เครื่องดื่มยอดฮิตของคนยุคปัจจุบัน โดยระบุว่า
ห้ามดื่มนมพร้อมยา

นม เป็นเครื่องดื่มที่มีแคลเซียมสูง ซึ่งในยาบางประเภท เช่น กลุ่มยาแก้อักเสบเตตร้าไซคลิน จะทำปฏิกิริยากับนม โดยจะถูกแคลเซียมจากนมดักฤทธิ์เอาไว้ ทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์เลย
น้ำผลไม้ เกรปฟรุต

ส่วนในประเด็นของน้ำผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่มีค่าเป็นกรด จะทำให้การทำละลายของยาเปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะทำให้การออกฤทธิ์ของยามีปัญหาได้
ซึ่งนมกับน้ำผลไม้นี้ควรหลีกเลี่ยงในการใช้เป็นน้ำที่กินกับยา ยังกล่าวต่อไปอีกด้วยว่า ในต่างประเทศมีการวิจัย และพบว่า น้ำผลไม้ เกรปฟรุต ซึ่งเป็นน้ำส้มชนิดหนึ่งที่ชาวตะวันตกชอบดื่ม มีผลต่อเอนไซม์ตับ ทำให้ตับมีปฏิกิริยาต่อการกำจัดสารตกค้างจากยาออกจากตับ และมีคำแนะนำว่าไม่ควรจะกินยากับน้ำผลไม้ชนิดนี้ด้วย
การรับประทานยาให้ถูกวิธี

ในเมื่อได้รู้แล้วว่าควรกินน้ำกับยาอย่างไรให้ถูกต้องก็ควรปฏิบัติตามด้วยนะครับ เพื่อสุขภาพของตนเอง
ขอบคุณแหล่งความรู้ :http://www.thaihealth.or.th/ 
ขอบคุณแหล่งภาพ : hilight.kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น