แสงสว่างที่พอเหมาะ
โลกปัจจุบันจำเป็นต้องแข่งขันกันมาก ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน ทำให้เราจะต้องใช้สายตา หรือมีการใช้ชั่วโมงการใช้สายตาเพื่อการอ่านหนังสือ หรือการทำงาน หรือนั่งหน้าจอทีวีและคอมพิวเตอร์มากขึ้นซึ่งมีผลทำให้เกิดการเมื่อยล้าของสายตาได้มากขึ้น การใช้แสงที่ไม่เหมาะสมทั้งที่สว่างไปหรือมืดไป ก็จะทำให้เกิดการเพ่งของสายตา เพื่อให้เห็นภาพชัดทำให้มีการเพิ่มการทำงานของดวงตา มากกว่าปกติ และนำมาซึ่งความเมื่อยล้าของสายตาและพล่ามัวหรืออาการแสบตาได้
ดังนั้นในการทำงานที่ต้องใช้สายตาจึงควรจัดแสงให้พอเหมาะ และจำกัดชั่วโมงระยะเวลาการทำงานให้ไม่มากเกินไป ควรมีการพักเป็นระยะทุกชั่วโมง
แสงแดดกับสุขภาพดวงตา
แสงแดดมีประโยชน์ช่วยทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน ในแสงแดดอาจมีรังสีชนิดหนึ่ง ชื่อว่า อุลตร้าไวโอเลต ปัจจุบัน เราพอจะมีหลักฐานหลาย ๆ อย่างยืนยันว่ารังสีอุลตร้าไวโอเลตนี้ สามารถทำอันตรายต่อเยื่อบุตา และเนื้อเยื่อภายในลูกตาได้มากพอสมควร ซึ่งหลายคนคงพอจะทราบดีว่า รังสีอุลตร้าไวโอเลตมีส่วนสัมพันธ์ในการทำให้เกิดต้อเนื้อ ต้อลม หรือการเป็นต้อกระจก ได้มากขึ้น รวมทั้งโรคจอตาเสื่อม ในผู้สูงอายุก็เชื่อว่าเกี่ยวพันกับรังสีอุลตร้าไวโอเลตนี้
ดังนั้นหากเราต้องปฏิบัติงานหรือใช้ชีวิตอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันทุกวัน เราควรจะมีแว่นกันแดดชนิดที่สามารถเกิดจากลูกตาได้ เพื่อช่วยลดอันตรายอันสามารถเกิดจากลูกตาได้ หรือเกิดเป็นต้อกระจก
อาหารบำรุงสายตา
อาหารที่บำรุงสายตาได้แก่
อาหารที่ได้จาก วิตามินเอ เราจะพบ
วิตามินเอ ได้ในผลิตผลจากสัตว์ เช่น ตับ นม น้ำมันสกัดจากตับปลา หรือพืชที่มีสารสีเขียวจัด สีแสด สีเหลือง เช่นผักบุ้ง มะละกอสุก ฟักทอง ตำลึง บร็อคโคลี่ แครอท มะม่วงสุก
และอีกมากมาย ความต้องการสารอาหาร ใน 1 วัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ มีความ ต้องการวิตามิน เอ
ไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ซึ่งได้จากอาหารต่าง ๆ ดังนี้
เด็ก : ต้องการอาหารที่ช่วย
- บำรุงสายตา เช่น ตับไก่ ตับหมู แครอท ฟักทอง ไข่แดง ตำลึง ผักโขม ปูทะเล ผักคะน้าและเนย
- ที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ใบยอ ตับไก่ ใบแมงลัก ตับวัว ใบโหระพา ใบบัวบก ผักชะอม ผักกระถิน พริกขี้หนู มะม่วงสุก ผักบุ้ง มะละกอ และควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหาร ต่อไปนี้ ข้าวซ้อมมือ ปลา ตับ เนื้อไก่ผักสด และผลไม้ รวมทั้งวิตามินต่าง ๆที่จำเป็นในการรักษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น